วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ระบบปฏิบัติการแห่งชาติของจีน


        วันที่ 15 มกราคมนี้ ระบบปฏิบัติการ COS (China Operating System) ที่ร่วมกันวิจัยและบุกเบิกโดยสถาบันวิจัยซอฟต์แวร์แห่งสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีนและบริษัทเทคโนโลยีเครือข่ายและการสื่อสารเหลียนถง เซี่ยงไฮ้ ได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่กรุงปักกิ่ง โดยระบบนี้สามารถใช้ในคอมพิวเตอร์ส่วนตัว สมาร์ท โฟน กล่องรับสัญญาณ และ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนอัจฉริยะ ที่มีความได้เปรียบด้านหน้าจอคมชัด ปลอดภัยและมีความเร็วสูง จะเปิดยุคใหม่แห่งอุปกรณ์อัจฉริยะของจีน การเปิดตัวระบบปฏิบัติการ COS ครั้งนี้ เกิดขึ้นเพื่อทำลายการผูกขาดของซอฟต์แวร์พื้นฐานของต่างประเทศ เช่น แอปเปิล และ กูเกิลนำการบุกเบิกระบบปฏิบัติการที่จีนถือสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาและมีความเป็นจีน โดยสามารถรองรับการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูป(application programs) ได้มากกว่า 1 แสนรายการ
        รัฐบาลจีนสนับสนุนระบบปฏิบัติการสัญชาติจีนที่เรียกว่า COS (China Operating System) หวังลดการพึ่งพาระบบปฏิบัติการแบรนด์นอกทั้งกูเกิล แอปเปิล และไมโครซอฟท์ ที่ผูกขาดตลาดจีนมานาน โดยต้องการให้ระบบปฏิบัติการจีนเป็นทางเลือกใหม่ดึงดูดผู้ใช้งานที่ต้องการอะไรใหม่ๆ กระตุ้นให้เกิดการแข่งขันกับระบบปฏิบัติการอื่นของต่างประเทศ โดยเฉพาะไอโอเอส (iOS) และแอนดรอยด์ (Android) สมาร์ตโฟนรุ่นแรกที่ใช้ระบบปฏิบัติการจีนคือ HTC ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนจากไต้หวัน ล่าสุดทางเอชทีซีได้ออกมารายงานแล้วว่าทางบริษัทไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับการเปิดตัวและการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการแห่งชาติของจีนชื่อ China Operating System (COS)แม้แต่น้อย และสิ่งที่เอชทีซีทำอยู่ในขณะนี้ก็คือผลิตสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ และสมาร์ทโฟนวินโดวส์โฟนเท่านั้น และไม่มีความสนใจใน ระบบปฏิบัติการแห่งชาติของจีนชื่อ China Operating System (COS) เลยแม้แต่น้อย เหตุการณ์นี้เกี่ยวข้องกับปัญหาทางการเมืองของหนึ่งจีน สองระบบหรือไม่ น่าติดตามกันต่อไป
สถาบันซอฟต์แวร์แห่งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ของจีน (Institute of Software at the Chinese Academy of Sciences - ISCAS) ร่วมกับบริษัท Shanghai Liantong เปิดตัวระบบปฏิบัติการของคนจีนชื่อ China Operating System (COS)

ประวัติของ Bill Gate และผลงาน



        วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม (เกิด 28 ตุลาคม ค.ศ. 1955) หรือที่มักเป็นที่รู้จักในชื่อ บิล เกตส์ เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกัน และหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ เขากับผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลคนอื่น ๆ ได้ร่วมกันเขียนต้นแบบของภาษาอัลแตร์เบสิก ซึ่งเป็นอินเตอร์เพรเตอร์สำหรับเครื่องอัลแตร์ 8800 (เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในยุคแรกๆ) เขาได้ร่วมกับพอล แอลเลน ก่อตั้งไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชันขึ้น ซึ่งในขณะนี้เขาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเรื่องเทคโนโลยี นิตยสารฟอบส์ได้จัดอันดับให้ บิล เกตส์ เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกหลายปีติดต่อกัน
        วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สามได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการอัศวินแห่งจักรวรรดิบริเตน (KBE) จากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2


กำเนิดบริษัทสายเลือดใหม่ MICROSOFT
        ช่วงขณะที่เขายังศึกษาในโรงเรียน บิล เกตส์ได้เริ่มพัฒนาซอฟท์แวร์ให้กับ MITS Altair 8800 (คอมพิวเตอร์รุ่นเก๋าที่ประดิษฐ์ขึ้นในปี 1975) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรกของโลก ถัดมาในปี ค.ศ. 1977 เขาและอัลเลนก็ได้ย้ายไปที่ อัลบูเควอกี้ (Albuquerque) ในมลรัฐนิวเม็กซิโก ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย MIT โดยที่นั่นเอง เขาและอัลเลนได้เริ่มจัดการตั้งบริษัท “Young Software Company” ขึ้นมา พิจารณารูปด้านล่าง คือ 11 พนักงานไมโครซอฟท์รุ่นแรกสุดของบริษัทฯ

ซอฟท์แวร์ที่ผูกขาด (MONOPOLY SOFTWARE)
        ในปีค.ศ. 1998 ไมโครซอฟท์ได้ถูกศาลสั่งฟ้องทางบริษัทฯ เนื่องจากมีการผูกขาดซอฟท์แวร์การใช้งานแต่เพียงบริษัทฯเดียว ซึ่งในช่วงเวลานั้นเอง บิล เกตส์ก็พยายามอธิบายเหตุผลต่างๆให้สาธารณะชนรับทราบอยู่ตลอดเวลา

เกียรติประวัติ
  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ค.ศ. 2007
  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยวาเซดะ ค.ศ. 2005
  • รางวัลเกียรติยศผู้บัญชาการอัศวินแห่งจักรวรรดิบริเตน จากสหราชอาณาจักร ตามประกาศเมื่อปี ค.ศ. 2005 
  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันเทคโนโลยีหลวง(Royal Institute of Technology) กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดนค.ศ. 2002
  • ติดหนึ่งใน 100 อันดับบุคคลสำคัญผู้มีอิทธิพลต่อประชาชนในสื่อต่าง ๆ จากการจัดอันดับของ หนังสือพิมพ์ เดอะ การ์เดียน ค.ศ. 2001
  • ติดอันดับบุคคลผู้มีอำนาจ, นิตยสารซันเดย์ ไทม ค.ศ. 1999
  • อันดับ 2 ในการจัดอันดับ 100 ดาวรุ่ง, นิตยสารอัพไซด์ ค.ศ. 1999
  • อันดับ 1 ในการจัดอันดับ 50 ดาวรุ่งในโลกไซเบอร์, นิตยสารไทมค.ศ. 1998
  • อันดับที่ 28 ใน 100 อันดับบุคคลสำคัญผู้มีอิทธิพลในวงการกีฬา,นิตยสารสปอร์ตติง นิวส์ ค.ศ. 1997
  • ผู้บริหารระดับสูงแห่งปี, นิตยสารชีฟ เอกเซกคูทีฟ ออฟฟิซเซอร์ค.ศ. 1994
  • นักกีฏวิทยา ได้ตั้งชื่อแมลงวันตอมดอกไม้พันธุ์หนึ่งว่า Eristalis gatesi ตามชื่อของบิล เกตส์ เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา
หนังสือที่แต่งโดยบิล เกตส์
  • Business @ The Speed of Thought โดยระบบประสาทดิจิตอล(ค.ศ. 1999ISBN 0-446-67596-2
  • เส้นทางสู่อนาคต (ค.ศ. 1996ISBN 0-14-026040-4

พลังงานแสงอาทิตย์หรือโซล่าเซล

เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) เป็นสิ่งประดิษฐ์กรรมทางอิเลคทรอนิกส์ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการนำสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิกอน ซึ่งมีราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนพื้นโลกมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ และทันทีที่แสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ รังสีของแสงที่มีัอนุภาคของพลังงานประกอบที่เรียกว่า โฟตอน (Proton) จะถ่ายเทพลังงานให้กับอิเล็กตรอน (Electron) ในสารกึ่งตัวนำจนมีพลังงานมากพอที่จะกระโดดออกมาจากแรงดึงดูดของอะตอม (atom) และเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ดังนั้นเมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ครบวงจรจะทำให้เกิดไฟฟ้ากระแสตรงขึ้น เมื่อพิจารณาลักษณะการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์พบว่า เซลล์แสงอาทิตย์จะมีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงที่สุดในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งสอดคล้องและเหมาะสมในการนำเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้ผลิตไฟฟ้า เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน
การผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์มีจุดเด่นที่สำคัญ แตกต่างจากวิธีอื่นหลายประการ ดังต่อไปนี้

  1. ไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวในขณะใช้งาน จึงทำให้ไม่มีมลภาวะทางเสียง
  2. ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษจากขบวนการผลิตไฟฟ้า
  3. มีการบำรุงรักษาน้อยมากและใช้งานแบบอัตโนมัติได้ง่าย
  4. ประสิทธิภาพคงที่ไม่ขึ้นกับขนาด
  5. สามารถผลิตเป็นแผงขนาดต่างๆ ได้ง่าย ทำให้สามารถผลิตได้ปริมาณมาก
  6. ผลิตไฟฟ้าได้แม้มีแสงแดดอ่อนหรือมีเมฆ
  7. เป็นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้มาฟรีและมีไม่สิ้นสุด
  8. ผลิตไฟฟ้าได้ทุกมุมโลกแม้บนเกาะเล็กๆ กลางทะเล บนยอดเขาสูง และในอวกาศ
  9. ได้พลังงานไฟฟ้าโดยตรงซึ่งเป็นพลังงานที่นำมาใช้ได้สะดวกที่สุด

ดังนั้น ไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์จึงเป็นความหวังของคนทั่วโลก ในศตวรรษที่ 21 ที่จะมาถึงในอีกไม่นาน
ประวัติความเป็นมาของเซลล์แสงอาทิตย์
       เซลล์แสงอาทิตย์ถูกสร้างขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497) โดย แชปปิน (Chapin) ฟูลเลอร์ (Fuller) และเพียสัน (Pearson) แห่งเบลล์เทลเลโฟน (Bell Telephon) โดยทั้ง 3 ท่านนี้ได้ค้นพบเทคโนโลยีการสร้างรอยต่อ พี-เอ็น (P-N) แบบใหม่ โดยวิธีการแพร่สารเข้าไปในผลึกของซิลิกอน จนได้เซลล์แสงอาทิตย์อันแรกของโลก ซึ่งมีประสิทธิภาพเพียง 6% ซึ่งปัจจุบันนี้เซลล์แสงอาทิตย์ได้ถูกพัฒนาขึ้นจนมีประสิทธิภาพสูงกว่า 15% แล้ว ในระยะแรกเซลล์แสงอาทิตย์ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับโครงการด้านอวกาศ ดาวเทียมหรือยานอวกาศที่ส่งจากพื้นโลกไปโคจรในอวกาศ ก็ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังไฟฟ้า ต่อมาจึงได้มีการนำเอาแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้บนพื้นโลกเช่นในปัจจุบันนี้ เซลล์แสงอาทิตย์ในยุคแรกๆ ส่วนใหญ่จะมีสีเทาดำ แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้เซลล์แสงอาทิตย์มีสีต่างๆ กันไป เช่น แดง น้ำเงิน เขียว ทอง เป็นต้น เพื่อความสวยงาม
ประเภทของ " เซลล์แสงอาทิตย์ "เซลล์แสงอาทิตย์ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  1. กลุ่ม เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิคอน จะแบ่งตามลักษณะของผลึกที่เกิดขึ้น คือ แบบที่เป็น รูปผลึก ( Crystal ) และแบบที่ไม่เป็นรูปผลึก (Amorphous) แบบที่เป็นรูปผลึก จะแบ่งออกเป็น2 ชนิด คือ ชนิดผลึกเดี่ยวซิลิคอน ( Single Crystalline Silicon Solar Cell) และ ชนิดผลึกรวมซิลิคอน ( Poly Crystalline Silicon Solar Cell) แบบที่ไม่เป็นรูปผลึก คือ ชนิดฟิล์มบางอะมอร์ฟัสซิลิคอน ( Amorphous Silicon Solar Cell)
  2. กลุ่มเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากสารประกอบที่ไม่ใช่ซิลิคอน ซึ่งประเภทนี้ จะเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพสูงถึง 25% ขึ้นไป แต่มีราคาสูงมาก ไม่นิยมนำมาใช้บนพื้นโลก จึงใช้งานสำหรับดาวเทียมและระบบรวมแสงเป็นส่วนใหญ่ แต่การพัฒนาขบวนการผลิตสมัยใหม่จะทำให้มีราคาถูกลง และนำมาใช้มากขึ้นในอนาคต ( ปัจจุบันนำมาใช้เพียง 7 % ของปริมาณที่มีใช้ทั้งหมด)

การผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ แบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ (PV Stand alone system)      เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการออกแบบสำหรับใช้งานในพื้นที่ชนบทที่ไม่มีระบบสายส่งไฟฟ้า อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับแบบอิสระ
การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบต่อกับระบบจำหน่าย (PV Grid connected system)      เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ถูกออกแบบสำหรับผลิตไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ เข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้าโดยตรง ใช้ผลิตไฟฟ้าในเขตเมือง หรือพื้นที่ที่มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าเข้าถึง อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับชนิดต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้า
 การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบผสมผสาน (PV Hybrid system)
       เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ถูกออกแบบสำหรับทำงานร่วมกับอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าอื่นๆ เช่น ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลม และเครื่องยนต์ดีเซล ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลม และไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นต้น โดยรูปแบบระบบจะขึ้นอยู่กับการออกแบบตามวัตถุประสงค์โครงการเป็นกรณีเฉพาะ
คุณสมบัติและตัวแปรที่สำคัญของเซลล์แสงอาทิตย์       ตัวแปรที่สำคัญที่มีส่วนทำให้เซลล์แสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพการทำงานในแต่ละพื้นที่ต่างกัน และมีความสำคัญในการพิจารณานำไปใช้ในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนการนำไปคำนวณระบบหรือคำนวณจำนวนแผงแสงอาทิตย์ที่ต้องใช้ในแต่ละพื้นที่ มีดังนี้
1. ความเข้มของแสง       กระแสไฟ (Current) จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเข้มของแสง หมายความว่าเมื่อความเข้มของแสงสูง กระแสที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ก็จะสูงขึ้น ในขณะที่แรงดันไฟฟ้าหรือโวลต์แทบจะไม่แปรไปตามความเข้มของแสงมากนัก ความเข้มของแสงที่ใช้วัดเป็นมาตรฐานคือ ความเข้มของแสงที่วัดบนพื้นโลกในสภาพอากาศปลอดโปร่ง ปราศจากเมฆหมอกและวัดที่ระดับน้ำทะเลในสภาพที่แสงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นโลก ซึ่งความเข้ม ของแสงจะมีค่าเท่ากับ 100 mW ต่อ ตร.ซม. หรือ 1,000 W ต่อ ตร.เมตร ซึ่งมีค่าเท่ากับ AM 1.5 (Air Mass 1.5) และถ้าแสงอาทิตย์ทำมุม 60 องศากับพื้นโลกความเข้มของแสง จะมีค่าเท่ากับประมาณ 75 mW ต่อ ตร.ซม. หรือ 750 W ต่อ ตร.เมตร ซึ่งมีค่าเท่ากับ AM2 กรณีของแผงเซลล์แสงอาทิตย์นั้นจะใช้ค่า AM 1.5 เป็นมาตรฐานในการวัดประสิทธิภาพของแผง
2. อุณหภูมิ       กระแสไฟ (Current) จะไม่แปรตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่แรงดันไฟฟ้า (โวลท์) จะลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วทุกๆ 1 องศาที่เพิ่มขึ้น จะทำให้แรงดันไฟฟ้าลดลง 0.5% และในกรณีของแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาตรฐานที่ใช้กำหนดประสิทธิภาพของแผงแสงอาทิตย์คือ ณ อุณหภูมิ 25 องศา C เช่น กำหนดไว้ว่าแผงแสงอาทิตย์มีแรงดันไฟฟ้าที่วงจรเปิด (Open Circuit Voltage หรือ V oc) ที่ 21 V ณ อุณหภูมิ 25 องศา C ก็จะหมายความว่า แรงดันไฟฟ้าที่จะได้จากแผงแสงอาทิตย์ เมื่อยังไม่ได้ต่อกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ณ อุณหภูมิ 25 องศา C จะเท่ากับ 21 V ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 25 องศา C เช่น อุณหภูมิ 30 องศา C จะทำให้แรงดันไฟฟ้าของแผงแสงอาทิตย์ลดลง 2.5% (0.5% x 5 องศา C) นั่นคือ แรงดันของแผงแสงอาทิตย์ที่ V oc จะลดลง 0.525 V (21 V x 2.5%) เหลือเพียง 20.475 V (21V



พรบ. คอมพิวเตอร์ และตัวอย่างการกระทำผิดแบบเข้าใจง่ายๆ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควร
มีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ
ขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
                มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”
                มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า
                อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
                 “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่งหรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์
ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรม
ทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
                “ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึง
แหล่งกำเนิดต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสาร
ของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
                “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
                                (๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น
                โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
                                (๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
                “ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
                “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
                “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
                มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจ
ออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
                มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น
มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าว
ไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น
มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
ที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไป
ใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
โดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา
ของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
                มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
                                (๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง                 และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
                                (๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์                 หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ                 ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะหรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
                หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาท
                ถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
                มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด
ตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
                                (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์
                อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
                                (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ                 โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
                                (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ                 อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
                                (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ                 ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
                                (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)
                มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
                มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏ
เป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูล
คอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิด
ตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
                มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
                                (๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหาย
ได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
                                (๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหาย
ได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่
                มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิด
ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
                                (๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ
                ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
                                (๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์
                หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
                                (๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครอง
                หรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
                                (๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามี
                การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
                                (๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์
                 ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
                                (๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล
                 คอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำ
                 ความผิดและสั่งให้บุคคลนั้น| ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
                                (๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูล
                 คอมพิวเตอร์ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
                                (๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิด
                 และผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
                มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้อง
ต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่า
บุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของ
การกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตาม
คำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้า
ในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ  (๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาล
ที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของ
หรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือ
แสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัด
ไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบ
กำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึด
หรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
                มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
                มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่
โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
                มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
                มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
                มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
                มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
                มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี
                หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญ ของการประกอบกิจการ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

   ที่มา http://www.cowboythai.com/forum/index.php?     topic=1443.msg9206;topicseenhttp://www.amnathos.go.th/row02.html

การจัดการไวรัสซ่อนไฟล์ด้วย unhidden พร้อมดาวน์โหลด

โปรแกรมแก้ไวรัสซ่อนไฟล์ HIDDEN FIXER

โปรแกรมแก้ไวรัสซ่อนไฟล์ Hidden Fixer
Hidden Fixer (โปรแกรม Hidden Fixer แก้ไวรัสซ่อนไฟล์ โฟลเดอร์หาย) : โปรแกรมนี้มีชื่อว่า โปรแกรม Hidden Fixer มันเป็นโปรแกรมที่สามารถกู้ไฟล์และโฟลเดอร์หายหรือซ่อนตัวอยู่ ทั้งจากผลของ ไวรัสซ่อนไฟล์ หรือลืมว่าซ่อนไว้ที่ไหน ให้กลับมาเป็นปกติ โดยโปรแกรมเป็นอีก วิธีแก้ไวรัสซ่อนไฟล์ ที่จะมาช่วยให้คุณสามารถกู้ไฟล์และโฟลเดอร์หายได้ ทั้นในไดร์ฟที่เป็นฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) และ ที่เป็นแฟลชได์รฟ (USB FlashDrive) ของคุณได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และง่ายดาย
สำหรับในเวอร์ชั่น 1.9 นี้ ทางผู้พัฒนาได้แบ่งเป็นเวอร์ชั่นย่อย สำหรับแพลตฟอร์มที่แตกต่าง 3 เวอร์ชั่น ได้แก่ เวอร์ชั่นสำหรับ Windows 10 / 8.1 / 8 รวมไปถึง เวอร์ชั่นสำหรับ Windows 7 / Vista / XP และ เวอร์ชั่นสำหรับ Windows RT โดยในเวอร์ชั่นสำหรับ Windows 10 / 8.1 / 8 และ 7 / Vista / XP นั้นได้มีการใช้เทคโนโลยีการแก้ไวรัสซ่อนไฟล์ใหม่ล่าสุด ปราศจากหน้าต่างดำ Command Prompt และ กู้ไฟล์หายจากไวรัสซ่อนไฟล์ ได้เร็วกว่าเวอร์ชั่นก่อนๆ โดยได้รับการพิสูจน์แล้วว่า สามารถกู้ไฟล์หายจากไวรัสซ่อนไฟล์ได้ ประมาณ 100-200 ไฟล์/วินาที หรือใช้เวลาเพียง 1-3 วินาทีโดยทั่วไป ขณะที่ เวอร์ชั่นก่อนๆ มีอัตราการกู้ไฟล์หายจากไวรัสซ่อนไฟล์อยู่ที่ 10-100 ไฟล์/วินาที หรือใช้เวลา 2-10 วินาทีโดยทั่วไป
นอกจากนี้ทางผู้พัฒนาขอนำเสนอโปรแกรมย่อยใหม่ล่าสุดอีก 3 โปรแกรม ได้แก่ Hidden Fixer Console ; โปรแกรมแก้ไวรัสซ่อนไฟล์ เวอร์ชั่นไฟล์ batch ใช้ได้กับวินโดวส์ทุกรุ่น สามารถปล่อยโปรแกรมลงสู่แฟลชไดรฟของท่านได้ ไว้ใช้งานยามฉุกเฉิน, Hidden Maker ; โปรแกรมที่ทำงานตรงกันข้ามกับ Hidden Fixer หากท่าต้องการซ่อนไฟล์ของตัวเองในบางโอกาส โปรแกรมนี้ตอบโจทย์ท่านเลย, Updater ; โปรแกรมเช็คการอัพเดท ทั้งนี้ท่านสามารถเข้าไปใช้งานได้โดยคลิกที่ปุ่มรูปเฟืองที่หน้าเมนูหลัง เพื่อเปิดหน้าการตั้งค่า แล้วกดที่แทบ(Tab) Tools.
สำหรับขนาดของ โปรแกรมสแกนไวรัส ตัวนี้นั้นมี น้อยกว่า 1 MB. ดาวน์โหลดและนำไปใช้งาน ได้สะดวก สำหรับพร้อมใช้ได้ทันที เมื่อปัญหาไฟล์และโฟลเดอร์หายเกิดขึ้นกับคุณ หน้าตาโปรแกรมออกแบบมาให้ใช้งานง่าย สามารถปรับแต่งสีสันและภาษาได้ หากคุณกำลังมีปัญหา ไฟล์หรือโฟลเดอร์หายไปจากแฟลชไดรฟของคุณอย่างไร้สาเหตหรือทราบว่าเป็นการกระทำของไวรัส ให้ โปรแกรมสแกนไวรัส นามว่า Hidden Fixer ช่วยคุณดูนะ

How to use (วิธีใช้งาน โปรแกรมแก้ไวรัสซ่อนไฟล์ Hidden Fixer อย่างง่ายดาย)
  1. เปิดโปรแกรม Hidden Fixer 
  2. เมื่อเข้ามาในหน้าโปรแกรมหลักได้แล้ว ให้กดปุ่ม Browse and FIX NOW
  3. จากนั้นเลือกที่อยู่ไดรฟ หรือ โฟลเดอร์ ที่ต้องการจะแก้ แล้วกด OK
  4. จะมีหน้าต่างให้ท่านเลือกว่า ต้องการกู้ไฟล์แบบทั่วไป (Regular Recovery) หรือ อย่างละเอียด (Deep Recovery) คลิกเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเริ่มกระบวนการ
  5. หลังจากการแก้ไวรัสซ่อนไฟล์เสร็จ โปรแกรมจะแสดงผลลัพธ์โดยการเปิดไดรฟหรือโฟลเดอร์ที่ท่านเลือกขึ้นมา
  6. เป็นอันเสร็จพิธี

How to change language (วิธีเปลี่ยนภาษา โปรแกรมแก้ไวรัสซ่อนไฟล์ Hidden Fixer)
  1. เปิดโปรแกรม Hidden Fixer
  2. เมื่อเข้ามาในหน้าโปรแกรมหลักได้แล้ว ให้กดที่ไอคอนรูปตัวอักษรจีน-อังกฤษ
  3. เสร็จแล้วจะมีหน้าต่างตั้งค่าภาษาขึ้นมา หากท่านมีไฟล์ชุดภาษาแล้วให้คลิกปุ่ม Import Language แล้วเลือกไฟล์ภาษาของท่าน ก็เป็นอังเสร็จสิ้น
  4. หากท่านยังไม่มีไฟล์ชุดภาษา ให้คลิกปุ่ม Download Langauge แล้วเข้าไปดาวน์โหลดชุดภาษาได้ตามต้องการ มีภาษาให้เลือกโหลดมากกว่า 10 ภาษา รองรับภาษาในแถบประเทศอาเซียน อาเซียน+3 รัสเซีย และอีกอื่นๆ

Changelog (รายละเอียดการปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงของโปรแกรมนี้แต่ละตัว แต่ละเวอร์ชั่น)
เวอร์ชั่น 1.9
  1. ดีไซน์โปรแกรมแบบใหม่
  2. ใช้กระบวนการแก้ไวรัสซ่อนไฟล์ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ปราศจากหน้าต่างสีดำ Command Prompt ทำงานได้เร็วกว่า ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีอัตราการกู้ไฟล์ที่ถูกซ่อนได้ประมาณ 100-200 ไฟล์ ต่อ วินาที
  3. มีระบบ Notification เข้ามาให้ผู้ใช้สามารถเรียกโปรแกรม หรือแก้ไวรัสซ่อนไฟล์ด้วยเมนูลัดได้ทุกเมื่อ
  4. เพิ่มการตั้งค่าทั่วไปที่ละเอียดขึ้น
  5. เพิ่มเครื่องมือย่อยใหม่ในโปรแกรม 3 ตัว ได้แก่
    1. เครื่องมือ Hidden Fixer Console
    2. เครื่องมือ Hidden Maker
    3. เครื่องมือ Updater
  6. แก้ไขบัก หน้า Instruction
  7. แก้ไขบัก การอัพเดทอัตโนมัติไม่พึงประสงค์
  8. รวบขั้นตอนการแก้ไวรัสซ่อนไฟล์ไว้ในคลิกเดียว ไม่ต้องกด Browse แล้วค่อยกด ปุ่ม FIX NOW อีก
  9. เพิ่มสถานะการทำงานของ แรม และ ซีพียู ไว้ที่หน้าเมนูหลักของโปรแกรม
  10. เพิ่ม Instruction (วิธีการใช้งานอย่างละเอียด) ไม่ที่หน้าเมนูหลักของโปรแกรม
  11. เพิ่มฟังก์ชั่นการปรับแต่งสีสันหน้าตาโปรแกรม (Theme) ให้มีอิสระมากยิ่งขึ้น
  12. เพิ่มเครื่องมือการสร้างชุดภาษา ให้ผู้ใช้ที่ต้องการสร้างชุดภาษาอื่นๆไว้ใช้เองนอกเหนือจากที่เราสร้าง
  13. เพิ่มข้อมูลผู้พัฒนาละเอียดขึ้น
  14. แตกโปรแกรมเป็น 3 เวอร์ชั่นสำหรับ 3 แพลตฟอร์ม ได้แก่เวอร์ชั่นสำหรับ Windows 10 / 8.1 / 8 เวอร์ชั่นสำหรับ Windows 7 / Vista / XP และ เวอร์ชั่นสำหรับ Windows RTและทุกวินโดวส์ที่มี Command Prompt
เวอร์ชั่น 1.8
  1. ตัดหน้าข้ามโฆษณาออก เมื่อเปิดโปรแกรม สามารถเข้าหน้าโปรแกรมหลักได้ทันทีเลย
  2. ปรับปรุงดีไซน์โปรแกรมใหม่ให้ใช้ง่ายขึ้นกว่าเดิม (ง่ายแล้วง่ายกว่าเดิมได้อีก)
  3. ยุบหน้าการตั้งค่าชั้นสูง (Advanced Option) รวมกันกับ หน้าโปรแกรมหลัก
  4. แทนที่หน้าต่าง Settings ส่วนของ "Theme" และ "Language" ด้วยระบบแท็บ (Tab) ในหน้าโปรแกรมหลัก
  5. แทนที่ข้อความ "Waiting for location" ด้วยปุ่ม "Select a Drive..." เพื่อให้ผู้ใช้รายใหม่เข้าโปรแกรมมา กดปุ่มเลือกที่อยู่ไดรฟได้สะดวกขึ้น ไม่สับสน
  6. ปรับปรุงหน้าต่าง Abouts หรือ Credits โดยมีรายละเอียดข้อมูลมากขึ้น
  7. เพิ่มระบบเตือนการอัพเดทอัตโนมัติเมื่อเปิดโปรแกรม
  8. เพิ่มปุ่ม Check for Updates ในหน้า Abouts
  9. เพิ่มปุ่ม Donate Us (ซึ่งยังไม่เปิดให้ใช้งาน) ในหน้า Abouts
  10. ลดขนาดไฟล์ของโปรแกรมลง จาก 600KB เหลือ 400KB
  11. เปลี่ยนแปลงการใช้ .NET Framework จากเวอร์ชั่น 2.0 เป็น 3.0 แทน
เวอร์ชั่น 1.71
  1. แก้ไขฟังก์ชั่นการโหลดภาษาที่ถูกตั้งค่า ให้สามารถคืนค่าภาษาเดิมได้ เมื่อไม่ตรวจพบไฟล์ชุดภาษาที่ตั้งค่า
  2. แก้ปัญหาบัก เมื่อเปิดโปรแกรมแล้ว .NET Framework Error จากเวอร์ชั่นที่ผ่านมา
เวอร์ชั่น 1.7
  1. เพิ่มการตั้งค่าเครื่องมือขั้นสูง (Advanced Option) สำหรับให้ผู้ใช้ปรับแต่งฟังก์ชั่นการแก้ไขไฟล์โฟลเดอร์หายเองได้ เพื่อความรวดเร็วกว่าในการแก้ไข
  2. เพิ่มเครื่องมือการตั้งค่าภาษา สำหรับให้ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนภาษาในโปรแกรม จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาอื่นๆได้มากกว่า 10 ภาษา
  3. เพิ่มชุดภาษาในแถบประเทศอาเซียน อาเซียน+3 รัสเซีย และอีกอื่นๆ
  4. เพิ่มข้อมูลผู้พัฒนาลงในหน้าข้ามโฆษณา
  5. ปรุงปรุงข้อมูลผู้พัฒนาให้ละเอียดขึ้นในหน้าเครดิต (Credit)
เวอร์ชั่น 1.6
  1. เพิ่มปุ่มนำทางไปยังผู้พัฒนา
  2. ปรับปรุงหน้าข้ามโฆษณาให้สามารถปิดได้ เมื่อไม่ต้องการเปิดโปรแกรม
เวอร์ชั่น 1.5
  1. ปรับดีไซน์หน้าตาการใช้งาน ให้ใช้ง่ายขึ้น
  2. เพิ่มกลไกการรอ ให้ผู้ใช้เลือกที่อยู่ที่ต้องการ เพื่อปลดล็อคปุ่ม FIX NOW
  3. ย่อ Living Room ให้อยู่ในหน้าต่างเดียวกันกลับ เครื่องมือ ตั้งค่าและเครดิต
เวอร์ชั่น 1.4
  1. ลบแถบโฆษณาออกไป
  2. ลบปุ่ม Art Gallery ออกไป
  3. เพิ่มปุ่ม Setting ที่หน้าหลัก สำหรับการตั้งค่าต่างๆ
  4. เพิ่มปุ่ม Update ที่หน้าหลัก สำหรับท่านที่ต้องการอัพเดทเวอร์ชั่นที่ใหม่กว่า
  5. เพิ่มปุ่ม More Products ที่หน้าหลัก สำหรับท่านที่ต้องการเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์อื่นๆในเครือ
  6. เพิ่มลูกเล่นการเปลี่ยน สีพื้นหลัง ของโปรแกรม 
  7. แก้ไขปัญหา การแก้ไฟล์โฟล์เดอร์หายไม่ได้ในบางกรณี
เวอร์ชั่น 1.3
  1. เพิ่มปุ่ม Art Gallery
เวอร์ชั่น 1.22
  1. เพิ่ม Living Room หรือ ห้องรับแขก ไว้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิด ขอความช่วยเหลือ หรือประชาสัมพันธ์กัน ในสังคมของผู้ใช้โปรแกรมในเครือ ทั้งหมด
  2. เปลี่ยนโฆษณา
  3. ย้ายข้อมูลเครดิตและปุ่มอัพเดท ไปไว้ยัง หน้าเครดิต
  4. แก้ไขปัญหาโปรแกรมค้างเล็กน้อย ขณะทำงาน
  5. แทรกการข้ามโฆษณา เมื่อเปิดโปรแกรม
เวอร์ชั่น 1.1
  1. เพิ่งแถบโฆษณาด้านล่าง
  2. เพิ่งตัวเลือกภาษา อังกฤษ และ ไทย เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้น

Required Program : เนื่องจาก โปรแกรม หรือ เกมส์ ที่ท่านกำลังจะ ดาวน์โหลด ต่อไปนี้ มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ โปรแกรม Microsoft .NET Framework 3.5 สำหรับ Windows 7/Vista/XP และ Microsoft .NET Framework 4.5สำหรับ Windows 10/8.1/8 ถ้าใครที่ยังไม่มี ติดตั้งเอาไว้ที่เครื่อง ก็ขอให้ดาวน์โหลดไปไว้ประจำเครื่องได้เลย เรียกได้ว่า ดาวน์โหลดและติดตั้ง เพียงแค่ กันครั้งเดียว เท่านั้น

โปรแกรมแก้ไวรัสซ่อนไฟล์ Hidden Fixer
ภาพตัวอย่าง Screenshot การใช้งาน ของ โปรแกรม Hidden Fixer
              อ้างอิงจาก http://bit.ly/15fjhxT