สวัสดีค่ะเพื่อนๆชาว “จันทร์ไทยบล็อก” บล็อกที่มีบทความดีๆ สาระความรู้มาฝากเพื่อนๆ วันนี้ก็เช่นเดียวกัน มีเรื่องราวดีๆมาฝากเช่นเคย สำหรับบทความวันนี้เราจะมาพูดถึง “
บรรณานุกรม” สำหรับคำว่า “
บรรณานุกรม” ในทาง
สารสนเทศ หมายถึงข้อความที่ประกอบ หรือระบุหรือไว้ในส่วนท้าย หรือแนบท้ายหนังสือ รายงาน บทความวิชาการ และงานวิจัย เพื่อแสดงหลักฐาน ความน่าเชื่อถือ และเป็นแหล่งข้อมูลให้ผู้อ่านรายงาน บทความวิชาการ และงานวิจัย ได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ตรงกับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ Bibliography ซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกันคือ รายการสื่อสารนิเทศทั้งหมดที่ผู้เขียนได้ใช้ประกอบการเขียนหนังสือ รายงาน บทความวิชาการ และงานวิจัย
เพื่อนๆหลายๆคนอาจจะสงสัยเหมือนกันว่า ระหว่าง
บรรณานุกรมกับการเขียนอ้างอิงนั้นแตกต่างกันอย่างไร บางคนอาจจะคิดว่ามันเหมือนกัน
แต่ความจริงแล้วไม่เหมือนกันค่ะ
การอ้างอิง(Reference) หมายถึง การบอกแหล่งที่มาของข้อความที่ใช้อ้างอิง ในเนื้อหาที่นำมาเขียนเรียบเรียง
เพราะฉะนั้น ถ้าจะอธิบายถึง
ความแตกต่างระหว่างบรรณานุกรมกับการอ้างอิงให้เข้าใจแบบง่ายๆ ก็คือ
บรรณานุกรม จะเป็นการระบุถึงรายการของความรู้ต่างๆ สิ่งพิมพ์วัสดุความรู้ ที่เป็นแหล่งที่เราศึกษาเป็นความรู้แล้วนำมาประกอบการเขียน ให้เราสามารถไปศึกษาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งนั้นได้ ส่วน
การอ้างอิง จะเป็นการตัดข้อความ หรือ คำพูด มาประกอบงานเขียนเลย
เช่น สมมติว่ามีคนมา
คัดลอกบทความจากจันทร์ไทยบล็อกไปใช้ โดย
ไม่ได้แก้อะไรเลยหรือมีแค่ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง เขาจะต้อง
อ้างอิงว่าเอามาจากไหน แต่ถ้าเขาเอาความรู้ที่ได้จากบทความต่างๆ จากจันทร์ไทยบล็อก ไป
เขียนสรุปเป็นเรื่องใหม่โดยเรื่องใหม่นั้น
ไม่ได้มีข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งในเรื่องใหม่นี้เลย เขาจะต้องระบุเป็น
บรรณานุกรมเอาไว้ให้ผู้อ่านสามารถรู้แหล่งที่มาของความรู้ให้ไปศึกษาเพิ่มเติมได้
ตัวอย่างการเขียนอ้างอิง
การอ้างอิงแบบแทรกปนในเนื้อหา ซึ่งมี 2 ระบบ (ส่งศรี ดีศรีแก้ว, 2534 : 78) คือ
1.1 ระบบนาม – ปี ( Author – date)
ระบบนาม – ปี เป็นระบบที่มีชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า ที่อ้างอิงอยู่ภายในวงเล็บ ดังตัวอย่าง
(ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์ : เลขหน้าที่อ้างอิง)
1.2 ระบบหมายเลข (Number System) เป็นระบบที่คล้ายคลึงกับระบบนาม – ปี แต่ระบบนี้จะใช้หมายเลขแทนชื่อผู้แต่งเอกสาร
อ้างอิง มีอยู่ 2 วิธี คือ
1.2.1 ให้หมายเลขตามลำดับของการอ้างอิง
1.2.2 ให้หมายเลขตามลำดับอักษรผู้แต่ง
ส่วนบรรณานุกรรม ( Bibliography )นั้น หมายถึง รายการของทรัพยากรสารนิเทศที่ใช้ค้นคว้าประกอบการเขียนรายงาน และนำมาอ้างอิงไว้ท้ายเล่ม
ความสําคัญของบรรณานุกรม
ในการศึกษาค้นคว้าและเขียนรายงานเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จำเป็นจะต้องรวบรวมบรรณานุกรมไว้ท้ายเล่มเสมอ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. เพื่อแสดงว่ารายงานฉบับนั้นเป็นรายงานที่มีเหตุผล มีสาระน่าเชื่อถือได้
2. เพื่อแสดงว่าผู้เขียนรายงานเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้แต่งหนังสือที่ได้นํามาใช้ประกอบการเขียนนั้น
3. เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สนใจได้ศึกษารายละเอียด หรือข้อเท็จจริงที่นํามาประกอบการเขียนเพิ่มเติมได้อีก
4. เพื่อตรวจสอบหลักฐานดั้งเดิมที่ผู้เขียนนํามาประกอบในรายงาน
การรวบรวมบรรณานุกรม
มีวิธีการและข้อควรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
1. ทรัพยากรสารนิเทศที่นํามาจัดทําบรรณานุกรม ต้องเป็นทรัพยากรสารนิเทศที่ใช้ค้นคว้าและที่นำมาอ้างอิงในรายงานเท่านั้น
2. การเขียนบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ สามารถหาข้อมูลได้จากหน้าปกใน (TitlePage) เนื่องจากมีข้อมูลที่จำเป็นสําหรับการเขียนบรรณานุกรม หากข้อมูลที่ต้องการมีไม่ครบ ให้ใช้ข้อมูลจากปกนอก หรือจากส่วนอื่นของสิ่งพิมพ์
3. การเขียนบรรณานุกรม ให้เริ่มอักษรตัวแรกของบรรณานุกรมที่ระยะชิดขอบ หรือ***งจากขอบกระดาษด้านซ้าย 1.5 นิ้ว ถ้าข้อความบรรทัดแรกไม่จบ ให้ขึ้นบรรทัดที่ 2, 3 ใหม่ โดยเริ่มที่ระยะย่อหน้า
4. กรณีที่ใช้ทรัพยากรสารนิเทศหลายชื่อเรื่อง ของผู้แต่งคนเดียวกัน การลงรายการครั้งแรกให้ลงตามหลักเกณฑ์ ส่วนการลงบรรณานุกรมลําดับต่อไปให้ขีดเส้นตรง 1 นิ้ว แทนชื่อผู้แต่ง แล้วลงรายการ อื่น ๆ ให้สมบูรณ์
5. หากทรัพยากรสารนิเทศใดไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อเรื่อง หรือ ชื่อบทความ เป็นรายการแรกแทนชื่อผู้แต่ง
6. หากรายการที่นํามาจัดทําบรรณานุกรมมีทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ให้เรียงภาษาไทยก่อนภาษาต่างประเทศ
7. การเรียงลําดับทรัพยากรสารนิเทศในบรรณานุกรม ให้เรียงตามลำดับอักษรตัวแรกของรายการนั้น ๆ ตามแบบพจนานุกรม โดยไม่ต้องใส่หมายเลขลําดับที่ของรายการ
ต่อมาเรามาดูตัวอย่างบรรณานุกรมกันบ้าง
1. ตัวอย่าง บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย
2. ตัวอย่าง บรรณานุกรมภาษาอังกฤษ
3. ตัวอย่าง บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์
4. ตัวอย่าง บรรณานุกรมบทความจากหนังสือ
5. ตัวอย่าง บรรณานุกรมบทความจากวารสาร
6. ตัวอย่าง บรรณานุกรมคอลัมน์จากวารสาร
7. ตัวอย่าง บรรณานุกรมคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์
8. ตัวอย่าง บรรณานุกรมโสตทัศนวัสดุ
9. ตัวอย่าง บรรณานุกรมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
1. บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย
แบบ ก
ชื่อ / ชื่อสกุล. / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์, /
/ / / / / / /ปีที่พิมพ์.
แบบ ข
ชื่อ / ชื่อสกุล. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์/ : / ผู้รับผิดชอบ
/ / / / / / / ในการพิมพ์.
ตัวอย่าง
แบบ ก
กิตติกร มีทรัพย์. จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ธุรกิจการพิมพ์,
2544.
แบบ ข
กิติกร มีทรัพย์. (2544). จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :
ธุรกิจการพิมพ์.
2. บรรณานุกรมหนังสือภาษาอังกฤษ
แบบ ก
ชื่อสกุล. / ชื่อต้น / ชื่อกลาง(ถ้ามี). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์./ /เมืองที่พิมพ์/:/ผู้รับผิดชอบ
/ / / / / / /ในการพิมพ์./ / ปีที่พิมพ์.
แบบ ข
ชื่อสกุล./อักษรย่อชื่อต้น / อักษรย่อชื่อกลาง(ถ้ามี). / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์.
/ / / / / / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์.
ตัวอย่าง
แบบ ก
Hartley, Eric Key. Childhood and society. 2 nd ed. New York : Mc Graw –
Hill, 1989.
แบบ ข
Hartley, E.K. (1989). Childhood and Society. 2 nd ed. New York : MC Graw -Hill.
3.บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์
แบบ ก
ชื่อผู้เขียน. / / ชื่อเรื่อง. / / ระดับวิทยานิพนธ์. / / ชื่อเมืองที่พิมพ์ / : / ชื่อมหาวิทยาลัย, /
/ / / / / / / ปีที่พิมพ์.
แบบ ข
ชื่อผู้เขีัยน. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ระัดับวิทยานิพนธ์, / ชื่อสาขา / คณะ /
/ / / / / / / ชื่อมหาวิทยาลัย.
ตัวอย่าง
แบบ ก
ภัคพร กอบพึ่งตน. การประเมินคุณภาพการพยาบาลผู้คลอดปกติในโรงพยาบาล
นครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540.
แบบ ข
ภัคพร กอบพึ่งตน. (2540). การประเมินคุณภาพการพยาบาลผู้คลอดปกติในโรงพยาบาล
นครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชา
การบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
4. บรรณานุกรมบทความจากหนังสือ
แบบ ก
ชื่อผู้เขียน./ / “ชื่อตอนหรือบทความ” / ใน / ชื่อหนังสือ. / / หน้า / เลขหน้า. / / ชื่อบรรณาธิการ
/ / / / / / / (ถ้ามี)./ / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์, /ปีที่พิมพ์.
แบบ ข
ชื่อผู้เขีน. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อบทความ. / / ใน / ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ)(ถ้ามี). / /
/ / / / / / / ชื่อหนังสือ. / / (หน้า / เลขหน้า). / / เมือง / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์.
ตัวอย่าง
แบบ ก
สมจิต หนุเจริญกุล และ ประคอง อินทรสมบัติ. “การประเมินผลการพยาบาล” ใน
เอกสารการสอนชุดวิชามโนมติและกระบวนการพยาบาล หน่วยที่ 8-15.
หน้า 749 – 781. มยุรา กาญจนางกูร, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2536.
แบบ ข
สมจิต หนุเจริญกุล และ ประคอง อินทรสมบัติ. (2536). การประเมินผลการพยาบาลใน
ใน มยุรา กาญจนางกูร (บรรณาธิการ). เอกสารการสอนชุดวิชามโนมติและ
กระบวนการพยาบาล หน่วยที่ 8 – 15. (หน้า 749- 781). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
5. บรรณานุกรมบทความจากวารสาร
แบบ ก
ชื่อผู้เขียน. / / “ชื่อบทความ” / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือเล่มที่ (ฉบับที่) / : / เลขหน้า; /
/ / / / / / / วัน (ถ้ามี) / เดือน / ปี.
แบบ ข
ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, / วัน / เดือน). / / ชื่อบทความ. / / ชื่อวารสาร. ปีที่หรือเล่ม(ฉบับที่), /
/ / / / / / /เลขหน้า.
ตัวอย่าง
แบบ ก
วิทยาคม ยาพิศาล. “การพัฒนาคุณภาพระบบงานศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ตาม
แนวทางการตรวจติดตามทางวิชาการและระบบคุณภาพ” กรมวิทยาศาสตร์การ
แพทย์. 46(3) : 142 – 153 : กรกฎาคม – กันยายน 2547.
แบบ ข
วิทยาคม ยาพิศาล. (2547,กรกฏาคม – กันยายน). การพัฒนาคุณภาพระบบงานศูนย์วิทยา-
ศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ตามแนวทางการตรวจติดตามทางวิชาการและระบบคุณ
ภาพ. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 46(3), 142 – 153.
6.บรรณานุกรมคอลัมน์จากวารสาร
แบบ ก
ชื่อผู้เขียน. / /”ชื่อคอลัมน์ / : / ชื่อเรื่องในคอลัมน์” / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือเล่มที่(ฉบับที่) / :
/ / / / / / /เลขหน้า ; / วัน (ถ้ามี) / เดือน / ปี.
แบบ ข
ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, วัน / เดือน). / / ชื่อคอลัมน์/ : /ชื่อเรื่องในคอลัมน์. / / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือ
/ / / / / / /เล่มที่(ฉบับที่),/เลขหน้า.
ตัวอย่าง
แบบ ก
วิทยา นาควัชระ. “คุยกันเรื่องของชีวิต : ประโยชน์ของการท่องเที่ยว” สกุลไทย. 40(2047) :
191 – 192 ; 26 ตุลาคม 2544.
แบบ ข
วิทยา นาควัชระ. (2544, 26 ตุลาคม). คุยกันเรื่องของชีวิต : ประโยชน์ของการท่องเที่ยว.
สกุลไทย. 40(2047), 191 – 192.
7.บรรณานุกรมคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์
แบบ ก
ชื่อผู้เขียนบทความ. / / “ชื่อคอลัมน์ / : / ชื่อเรื่องในคอลัมน์” /ชื่อหนังสือพิมพ์. / / วัน / เดือน/
/ / / / / / /ปี. / / หน้า / เลขหน้า.
แบบ ข
ชื่อผู้เขียนบทความ. / /(ปี, / วัน / เดือน). / /ชื่อคอลัมน์/ : /ชื่อเรื่องในคอลัมน์./ / ชื่อหนังสือ
/ / / / / / / พิมพ์, / หน้า / เลขหน้า
ตัวอย่าง
แบบ ก
นิติภูมิ เนาวรัตน์. “เปิดฟ้าส่องโลก : ตัวอย่างการอยู่ร่วมกัน : อียู” ไทยรัฐ. 5 มิถุนาน 2546.
หน้า 2.
แบบ ข
นิติภูมิ เนาวรัตน์. (2546, 5 มิถุนายน). เปิดฟ้าส่องโลก : ตัวอย่างการอยู่ร่วมกัน : อียู. ไทยรัฐ,
หน้า 2.
8.บรรณานุกรมโสตทัศนวัสดุ
แบบ ก
ชื่อผู้จัดทำ,/ หน้าที่ที่รับผิดชอบ./ / ชื่อเรื่อง. / / [ลักษณะของโสตทัศนวัสดุ]./ / ชื่อเมือง / : /
/ / / / / / / ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ, / ปีที่จัดทำ.
แบบ ข
ชื่อผู้จัดทำ,/ หน้าที่ที่รับผิดชอบ. / / (ปีที่จัดทำ). / / ชื่อเรื่อง. / / [ลักษณะของโสตทัศนวัสดุ]./ /
/ / / / / / / ชื่อเมือง / : / ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ.
ตัวอย่าง
แบบ ก
สายหยุด นิยมวิภาต, ผู้บรรยาย. ประเด็นปัญหาการวิจัยทางการพยาบาลคลินิก.
[เทปโทรทัศน์]. ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2537.
แบบ ข
สายหยุด นิยมวิภาต, ผู้บรรยาย. (2537). ประเด็นปัญหาการวิจัยางการพยาบาลคลินิก.
[เทปโทรทัศน์]. ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
9.บรรณานุกรมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
9.1 ฐานข้อมูล ซีดี – รอม
แบบ ก
ผู้แต่ง. / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสือ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์(ถ้ามี). / /
/ / / / / / / เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ.
แบบ ข
ผู้แต่ง./ / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต,/วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ]. / /
/ / / / / / / รายละเอียดทางการพิมพ์(ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่งสารสนเทศ.
ตัวอย่าง
แบบ ก
นพรัตน์ เพชรพงษ์. จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรงพยาบาลพิจิตร.
[ซีดี – รอม]. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่, 2545. สาระสังเขปจาก : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย แผ่นที่ 3, 2547.
แบบ ข
นพรัตน์ เพชรพงษ์. (2545). จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรงพยาบาลพิจิตร.
[ซีดี – รอม]. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการ
พยาบาลบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาระสังเขปจาก : ฐานข้อมูล
วิทยานิพนธ์ไทยแผ่นที่ 3, 2547.
9.2 ฐานข้อมูลออนไลน์
แบบ ก
ผู้แต่ง./ / ชื่อเรื่อง./ / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / /
เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ. / / (วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน / ปี).
แบบ ข
ผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต,/ วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียด
ทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่งสารสนเทศ. / /
(วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน /ปี).
ตัวอย่าง
แบบ ก
พิมลพรรณ พิทยานุกูล. วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http :
/ / www.lib.buu.ac.th. (วันที่ค้นข้อมูล : 16 กันยายน 2546).
เรวัติ ยศสุข. “ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขนอันตราย.” ฉลาดซื้อ. [ออนไลน์]. 6(6) ;
กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2546. เข้าถึงได้จาก : http :/ /www.kalathai.com
= 16. (วันที่ค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2547)
แบบ ก
พิมลพรรณ พิทยานุกูล. วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http : / /
/ / www.lib.buu.ac.th. (วันที่ค้นข้อมูล : 16 กันยายน 2546).
เรวัติ ยศสุข. (2546,กุมภาพันธ์ – มีนาคม). “ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขนอันตราย.” ฉลาดซื้อ.
[ออนไลน์]. 6(6) เข้าถึงได้จาก : http : / / www.kalathai.com
? article_id = 16. (วันที่ค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2547).
นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรม และ การเขียนอ้างอิงจากแหล่งความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมมา
ภาพตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรม